ครีมกันแดดมีกี่แบบ สังเกตยังไง เลือกใช้แบบไหนดี ?

ครีมกันแดดมีกี่ประเภท มีคุณสมบัติ และกลไกการทำงานต่างกันอย่างไร

ครีมกันแดดมีกี่แบบ ? : รู้จักครีมกันแดด 3 ประเภท และกลไกป้องกันผิวจากรังสี UV

1. ครีมกันแดดแบบ Chemical Sunscreen

ครีมกันแดดประเภท  Chemical Sunscreen มีคุณสมบัติป้องกันรังสี UV โดยการดูดซับรังสี แล้วคายออกมาในรูปแบบของความร้อน ไม่ใช่การสะท้อนแสงกลับออกไป สารกลุ่มนี้จะเคลือบอยู่บนผิวหนังและดูดกลืนรังสี UV ทำให้รังสี UV ไม่สามารถทะลุผ่านเข้ามาทำอันตรายต่อผิวหนังได้ ข้อดีคือทาง่าย ไม่ทิ้งคราบขาว แต่ต้องทาก่อนออกแดด 15-20 นาที เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม กันแดดประเภทนี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เนื่องจากสารบางส่วนสามารถซึมผ่านชั้นผิวหนังได้

2. ครีมกันแดดแบบ Physical Sunscreen

Physical Sunscreen ที่รู้จักในชื่อ Mineral sunscreen หรือ Inorganic Sunscreen เป็นครีมกันแดดที่ไม่มีส่วนผสมของสารคาร์บอน ทำงานโดยการสะท้อนรังสี UV ออกจากผิว สารในกลุ่มนี้จะเคลือบอยู่บนผิวหนังและทำหน้าที่เสมือนเป็นกระจกสะท้อนให้กับผิว โดยทั่วไปครีมกันแดดชนิดนี้มักมีเนื้อครีมที่หนากว่าและอาจทายากกว่าแบบ Chemical เล็กน้อย แม้บางครั้งอาจทิ้งคราบขาวบนผิว แต่ Physical Sunscreen ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย

3. ครีมกันแดดแบบ Hybrid Sunscreen

ในปัจจุบันครีมกันแดดไฮบริดเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะทำหน้าที่ได้ทั้ง 2 กลไก คือปกป้องผิวจากแสงแดดโดยไม่ทำให้เกิดการอุดตัน เนื้อบางเบา ทาง่าย ผิวแพ้ง่ายใช้ได้ รวมถึงใช้ในปริมาณที่น้อย และปกป้องผิวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ข้อสังเกตครีมกันแดดแต่ละประเภท

การสังเกตประเภทของครีมกันแดดสามารถทำได้โดยการสังเกตลักษณะและส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ดังนี้

  1. Chemical Sunscreen มักมีเนื้อครีมบางเบา ซึมซาบเร็ว ไม่ทิ้งคราบขาว ส่วนผสมมักมีสารเช่น Avobenzone, Octinoxate, หรือ Oxybenzone
  2. Physical Sunscreen เนื้อครีมอาจหนากว่าแบบ Chemical Sunscreen และอาจทิ้งคราบขาวบนผิว มักมีส่วนผสมหลักคือ Zinc Oxide หรือ Titanium Dioxide
  3. Hybrid Sunscreen จะมีลักษณะผสมผสานกัน โดยอาจมีเนื้อครีมที่ซึมซาบเร็วแต่ให้ความรู้สึกเหมือนมีฟิล์มบาง ๆ ปกป้องผิว ส่วนผสมจะมีทั้งสารกันแดดแบบ Chemical และ Physical

นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถตรวจสอบฉลากบนผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม เพราะมักจะระบุประเภทของครีมกันแดดหรือส่วนผสมสำคัญเอาไว้อย่างชัดเจน

ครีมกันแดด ไม่ได้มีแค่แบบครีมเท่านั้น

ผลิตภัณฑ์กันแดดในท้องตลาด มีหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็จะเหมาะกับลักษณะผิวที่ต่างกันไป โดยสามารถแบ่งตามลักษณะของเนื้อกันแดดได้ดังนี้

ครีมกันแดดแบบเนื้อเจล

กันแดดเนื้อเจลจะมีลักษณะเนื้อครีมที่ค่อนข้างบางเบา ไม่มีทำให้ผิวเหนียวเหนอะหนะ ไม่ทำให้หน้ามัน และไม่อุดตันรูขุมขน ให้ความรู้สึกชุ่มชื้นเวลาทาแต่ไม่ทำให้รู้สึกหนักหน้า จึงเหมาะกับคนที่มีสภาพผิวมัน เป็นสิวง่าย เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้หน้ามันเยิ้มขึ้นแล้ว ยังช่วยลดการอุดตัน ลดการเกิดสิวไปในตัวด้วย

ครีมกันแดดแบบเนื้อครีม

ครีมกันแดดแบบสเปรย์มีเนื้อกันแดดที่บางเบา ใช้งานง่ายโดยการฉีดพ่นลงบนผิวโดยตรง ไม่จำเป็นต้องเกลี่ยให้ทั่ว ประหยัดเวลาและสะดวกสำหรับการพกพา มีทั้งสเปรย์กันแดดสำหรับผิวหน้าและผิวกาย แต่ควรระวังไม่ให้เข้าตาหรือสูดดมโดยตรง ที่สำคัญ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับผิวหน้าเพื่อลดโอกาสการเกิดการแพ้หรือเป็นสิว

ครีมกันแดดเนื้อน้ำนม

ครีมกันแดดเนื้อน้ำนมมีลักษณะค่อนข้างเหลว เมื่อเทออกมาจะมีลักษณะคล้ายน้ำนมสีขาว เหมาะสำหรับทั้งผิวมันและผิวแห้ง เพราะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวโดยไม่ทำให้ผิวมันเยิ้ม ซึมซาบเร็ว และไม่ทิ้งคราบขาวบนผิว ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้งานประจำวัน

ครีมกันแดดแบบสเปรย์

ครีมกันแดดแบบสเปรย์มีเนื้อกันแดดที่บางเบา ใช้งานง่ายโดยการฉีดพ่นลงบนผิวโดยตรง ไม่จำเป็นต้องเกลี่ยให้ทั่ว ประหยัดเวลาและสะดวกสำหรับการพกพา มีทั้งสเปรย์กันแดดสำหรับผิวหน้าและผิวกาย แต่ควรระวังไม่ให้เข้าตาหรือสูดดมโดยตรง ที่สำคัญ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับผิวหน้าเพื่อลดโอกาสการเกิดการแพ้หรือเป็นสิว

ครีมกันแดดแบบแท่ง

ครีมกันแดดแบบแท่งมีลักษณะคล้ายโรลออน สามารถปาดหรือทาลงบนผิวได้โดยตรง สะดวกต่อการพกพาและเติมระหว่างวัน ส่วนใหญ่ออกแบบมาให้สามารถทาทับลงบนเมคอัพได้ ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการปกป้องผิวตลอดวันโดยไม่ต้องล้างหน้าใหม่ เมื่อทาแล้วควรเกลี่ยให้ทั่วใบหน้าเพื่อการปกป้องที่สม่ำเสมอ

วิธีเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิว และกิจกรรมในแต่ละวัน

หากถามว่า ควรมีวิธีเลือกครีมกันแดดแบบไหนดี คำตอบที่เหมาะที่สุดคือการดูที่ความแตกต่างกันของสภาพผิวและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในทุกกิจกรรม

  • สำหรับผิวมันและเป็นสิวง่าย

    ผู้มีผิวมันและเป็นสิวง่ายควรเลือกครีมกันแดดเนื้อเจลหรือน้ำนมที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (non-comedogenic) เพื่อลดโอกาสการเกิดสิว
  • สำหรับผิวแห้งและแพ้ง่าย

    ผู้ที่มีผิวแห้ง และแพ้ง่าย เราขอแนะนำให้เลือกครีมกันแดดประเภท Physical Sunscreen ที่มีส่วนผสมของสารบำรุง เช่น วิตามินอีหรือเซราไมด์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว และอาจเลือกครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของไฮยาลูรอนิกแอซิดเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการระคายเคือง
  • สำหรับผิวผสม

    สำหรับผู้ที่มีผิวผสม หรือผิวมันบางส่วนและแห้งบางส่วน ควรเลือกครีมกันแดดแบบ Hybrid ที่ให้ทั้งการปกป้องและการบำรุงที่มีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยควบคุมความมันในบริเวณที่มันง่ายและเพิ่มความชุ่มชื้นในส่วนที่แห้งได้
  • สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬากลางแจ้ง

    การออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง จะมีเหงื่อออกมาก และต้องสัมผัสกับรังสียูวีปริมาณมาก จึงควรเลือกครีมกันแดดสูตรกันน้ำและทนเหงื่อ (water-resistant) ที่มีค่า SPF 50+ และ PA++++ เพื่อการปกป้องสูงสุด และควรทาซ้ำทุก 80 นาทีหรือหลังเช็ดเหงื่อทุกครั้ง
  • สำหรับผู้ที่แต่งหน้า

    หากต้องแต่งหน้าหลังทากันแดด ควรเลือกครีมกันแดดที่เข้ากันได้ดีกับเมคอัพ เช่น เนื้อบางเบาหรือแบบน้ำนม โดยอาจเลือกครีมกันแดดที่มีเนื้อสีเพื่อปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ และอาจเลือกใช้สเปรย์กันแดดที่สามารถฉีดทับเมคอัพได้สำหรับการทาซ้ำระหว่างวัน
  • สำหรับผู้ที่ว่ายน้ำหรือเล่นกีฬาทางน้ำ

    ควรเลือกครีมกันแดดสูตรกันน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (reef-safe) และควรทาก่อนลงน้ำอย่างน้อย 15-30 นาที จากนั้นทาซ้ำทุกครั้งหลังเช็ดตัวด้วย

สร้างแบรนด์ครีมกันแดดคุณภาพสูงของคุณเองกับ 999 Laboratories

ที่ 999 Laboratories เราไม่ใช่แค่โรงงานผลิตครีมกันแดดทั่วไป แต่เราคือพาร์ตเนอร์ที่จะช่วยคุณสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นในตลาด เรามุ่งมั่นในการผลิตครีมกันแดดที่ผสมผสานคุณค่าจากธรรมชาติเข้ากับนวัตกรรมล่าสุด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่

ไม่ว่าคุณจะต้องการสร้างแบรนด์ครีมกันแดดของตัวเอง หรือเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับแบรนด์ที่มีอยู่ เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและสนับสนุนคุณในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคิดค้นสูตร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการผลิตครีมกันแดดในระดับอุตสาหกรรม หากต้องการสร้างแบรนด์ครีมกันแดดของตัวเอง ติดต่อเราได้เลยวันนี้

สินค้าที่แนะนำ